ลักษณะทางกายวิภาค

  • ไม้ไผ่แต่ละลำประกอบด้วยเซลล์พาเรงคิมา(parenchyma) 50 % เส้นใย (fiber) 40 % ท่อลำเลียง 10 % เนื้อเยื่อพาเรงคิมาและท่อลำเลียงต่าง ๆ อยู่ทางด้านในของลำต้นเป็นจำนวนมากขณะที่เส้นใยหรือไฟเบอร์มักพบอยู่ทางด้านนอกของลำต้น 
  • เนื้อเยื่อมัดท่อลำเลียงประกอบด้วยโพรโทไซเล็ม(protoxylem) และเมทาไซเล็ม(metaxylem) ซึ่งทำหน้าที่ลำเลียงน้ำ และโฟลเอ็ม(phloem) ซึ่งทำหน้าที่ลำเลียงอาหารอยู่รวมกันเป็นมัด ถูกล้อมรอบด้วยเยื่อหุ้มที่ประกอบด้วยเซลล์สเกลอเรงคิมา(sclerenclyma) ชนิดเส้นใย(fiber) ทางรอบนอกของลำต้น เนื้อเยื่อมัดท่อลำเลียงจะมีขนาดเล็กและมีจำนวนมาก ขณะที่มัดเนื้อเยื่อซึ่งอยู่ทางด้านในของลำต้นจะมีขนาดใหญ่กว่า และมีจำนวนน้อยกว่า จำนวนมัดท่อลำเลียงจะค่อย ๆ ลดลงจากด้านนอกเข้าหาด้านใน และจากส่วนโคนไปยังส่วนปลายของลำต้น
  •  รูปแบบของมัดท่อลำเลียงที่พบในพืชจำพวกไผ่จะแตกต่างกันไปประมาณ 4-5 แบบ ขึ้นกับขนาดและการกระจายตัวของมัดท่อลำเลียง เส้นใย(fiber) ที่พบในเนื้อไม้ของไผ่ มักอยู่บริเวณรอบ ๆ มัดท่อลำเลียง และพบมากบริเวณรอบนอกจนถึงส่วนกลางของเนื้อไม้ที่อยู่โดยรอบปล้องของลำต้น แต่จะมีความยาวของเส้นใยสั้นกว่าเส้นใยที่อยู่ด้านในของลำต้น ซึ่งในอุตสาหกรรมการผลิตเยื่อกระดาษจะต้องเลือกใช้ชนิดของไผ่ที่มีคุณสมบัติต่าง ๆ ของเส้นใยเหมาะสมต่อการผลิตด้วย เส้นใยของไผ่ชนิดต่าง ๆ ที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น มีความยาวของเส้นใยเฉลี่ย 1.45-3.78 นาโนเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นใย 11-22 ไมโครเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางของช่องภายในเซลล์ 2-7 ไมโครเมตร ความหนาของผนังเซลล์ 4-9 ไมโครเมตร
เอกสารอ้างอิง : http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-2/bamboo/04.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น